การพิมพ์ลายผ้า
คอตตอน
เครื่องพิมพ์สกรีนที่ใช้หมึกสูตรน้ำสามารถใช้งานกับผ้าคอตต้อนได้ คอตตอนเป็นวัสดุที่นำไปใช้ทำเสื้อผ้ากันอย่างแพร่หลาย เพราะสามารถซึมซับความชื้นได้ดี รวมไปถึงการระบายอากาศ ใส่แล้วสบาย แถมยังทนต่อการใช้ด้วย เทคนิคการพิมพ์แบบนี้ควรใช้กับผ้าคอตตอน 100% จึงจะให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด นอกจากนี้ยังควรใช้หมึกแบบรีแอคทีฟเพื่อประสิทธิภาพการพิมพ์ที่สูงขึ้น เพราะหมึกประเภทนี้จะทำให้ลายพิมพ์ติดในเส้นใยของผ้าคอตตอนได้นานและทนทานต่อการซัก สีประเภทนี้เมื่อพิมพ์เสร็จแล้วสีจะอยู่บนผิวของผ้ายังไม่ถูกฝังลงไปในเส้นใย กระบวนการหลังการพิมพ์ คือ ต้องนำผ้าไปอบด้วยไอน้ำที่อุณหภูมิประมาณ 102 องศาเซลเซียส เพื่อให้สีเข้าไปในเส้นใย ต่อจากนั้นนำผ้าไปซักเพื่อให้สีส่วนเกินออกมาจากผ้า ทำให้ผ้าหลังจากพิมพ์เสร็จยังมีผิวสัมผัสที่นุ่มอยู่เหมือนเดิม
ผ้าวิสโคส
วิสโคสเป็นผ้าที่ได้จากเซลลูโลสของพืช เป็นใยกึ่งสังเคราะห์ตามธรรมชาติประเภทหนึ่ง ซึ่งได้รับการนำไปใช้อย่างแพร่หลายในวงการแฟชั่น มีคุณสมบัติในการระบายอากาศได้ดี ใส่สบาย สะดวกในการดูแลรักษา ผ้าชนิดนี้ใช้กับการพิมพ์ลายผ้าดิจิตอลได้เช่นกัน และเหมือนกับการใช้ผ้าคอตตอน คุณควรใช้หมึกแบบรีแอคทีฟสำหรับผ้าวิสโคสเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
ผ้าวูล
การพิมพ์ลายผ้าดิจิตอลลงบนผ้าวูลอย่างมีประสิทธิภาพนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของวูลที่ใช้ หากใช้ผ้าวูลแบบมีขนปุยซึ่งหมายถึงผ้าวูลที่มีด้ายจำนวนมากยื่นออกมาจากตัวผ้า คุณจะต้องวางหัวพิมพ์ให้ห่างจากผ้าให้ไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้ นี่เป็นเพราะว่าเส้นด้ายในผ้าวูลนั้นหนากว่าเส้นรอบวงของปากหัวพิมพ์ถึงห้าเท่า จึงสามารถสร้างความเสียหายต่อหัวพิมพ์ได้ ดังนั้นจึงควรเลือกเครื่องพิมพ์ลายผ้าแบบดิจิตอลที่สามารถปรับหัวพิมพ์ให้มีระยะห่างจากผ้าได้
ผ้าไหม
ผ้าไหมก็เป็นผ้าใยสังเคราะห์จากธรรมชาติอีกประเภทหนึ่งและเหมาะกับการใช้พิมพ์ลายผ้าดิจิตอล หากต้องการพิมพ์ผ้าไหมโดยเน้นให้มีลายติดคงทนให้ใช้หมึกแบบรีแอคทีฟ ส่วนถ้าต้องการเน้นให้มีสีสันตรงตามที่ต้องการให้ใช้หมึกแบบแอสิด
ผ้าไนลอน หรือผ้าพอลิเอไมด์
ไนลอนเป็นผ้าประเภทหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ทำชุดว่ายน้ำ สามารถนำไปใช้กับพิมพ์ลายผ้าดิจิตอลได้ หากใช้หมึกแบบมีแอสิดจะได้ผลลัพธ์ที่มีคุณภาพสูงสุด เพราะสามารถคงสีสัน มีลายติดเร็ว และทนทานต่อน้ำเกลือกับคลอรีนได้ สีแอสิด คือสีย้อมเคมีหรือสีย้อมสังเคราะห์ชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อละลายน้ำแล้วโมเลกุลสีจะมีประจุเป็นลบที่เรียกว่า สีแอสิด เนื่องจากสีชนิดนี้สามารถย้อมได้ดี และดูดซับได้รวดเร็วในสารละลายสีย้อมที่มีสภาพเป็นกรด โครงสร้างโมเลกุลของสีส่วนใหญ่เป็นเกลือโซเดียมของกรดอินทรีย์ สีประเภทนี้จึงเหมาะสำหรับการพิมพ์ลงบนผ้าไนลอน
ผ้าโพลีเอสเตอร์
การพิมพ์ลายผ้าดิจิตอลบนผ้าโพลีเอสเตอร์นั้นเป็นเรื่องยากและมักก่อให้เกิดปัญหาอื่นตามมา โดยเฉพาะการใช้หมึกสูตรน้ำ เพราะใยสังเคราะห์ของโพลีเอสเตอร์นั้นละเอียดมากและทำจากพลาสติกที่ไม่มีคุณสมบัติในการซึมซับแต่ในปัจจุบันมีการผลิตเครื่องพิมพ์ลายดิจิตอลเฉพาะผ้าโพลีเอสเตอร์ พิมพ์ลายสำหรับ โดยใช้งานกับหมึกสีระเหิดทำให้หมึกเข้าไปติดในเส้นใย โดยการพิมพ์นั้นยังมีขั้นตอนและกระบวนการที่ไม่ซับซ้อน ทำให้สามารถพิมพ์ผ้าได้อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงยังไม่ก่อให้เกิดน้ำเสียตามมาอีกด้วย
ผ้าเนื้อผสม
ผ้าเนื้อผสมคือผ้าที่ทำจากเส้นใยสองประเภทรวมกัน ซึ่งทำให้การพิมพ์ลายผ้าดิจิตอลบนผ้าประเภทนี้เป็นเรื่องที่ค่อนข้างท้าทาย เนื่องจากเส้นใยแต่ละประเภทต้องการหมึกที่ต่างชนิดกัน แต่ในการพิมพ์แต่ละครั้งสามารถใช้หมึกได้เพียงประเภทเดียว ผู้ผลิตจึงต้องเลือกหมึกประเภทที่เหมาะกับผ้าทั้งสองแบบ หากใช้หมึกที่เหมาะกับผ้าประเภทเดียว หมึกก็จะติดอยู่บนผ้าประเภทนั้น แต่ไม่ติดบนผ้าอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งจะทำให้ผลงานมีสีและลายซีด สีไม่สดเท่าที่ควรจะเป็น โดยรวมแล้วเครื่องพิมพ์ลายผ้าดิจิตอลสามารถพิมพ์ลายบนผ้าเนื้อผสมที่มีโครงสร้างอย่างน้อย 70-30% ได้ แต่หากโครงสร้างของชนิดผ้าอยู่ที่ 60-40% มิติของสีที่พิมพ์ก็จะลดจำกัดมากขึ้น อีกหนึ่งวิธีในการพิมพ์ผ้าเนื้อผสมก็คือสีปิ๊กเมนท์ โดยสีตัวนี้จะไม่ได้เข้าไปฝังในเส้นใยเหมือนประเภทรีแอคทีฟ แต่จะใช้สารยึดเหนี่ยว (Binder) ระหว่างเม็ดสีกับเนื้อผ้า โดยที่สีจะไปเกาะอยู่ด้านบนของผิวผ้า ทำให้สีสันและความเข้มจะชัดกว่าแบบรีแอคทีฟ แต่ข้อเสียคือเวลานำไปซัก สีตัวนี้จะค่อยๆหลุดลอกออกจากผิวผ้า ทำให้สีบนผ้าค่อยๆซีดลงไป นอกจากนี้ก็ยังอาจจะทำให้ผ้ามีสัมผัสที่หยาบหรือกระด้างขึ้นบ้างเล็กน้อย
ดังนั้นสรุปแล้วในการจะพิมพ์ผ้าควรจะทำความเข้าใจก่อนว่าผ้าที่จะใช้พิมพ์มีโครงสร้างคืออะไร มีคุณสมบัติอย่างไรมีข้อจำกัด ในการพิมพ์อย่างไร เหมาะกับวิธีการพิมพ์แบบไหน เพื่อให้งานพิมพ์ออกมามีสีสันหรือคุณภาพดีที่สุดfashion/
สนใจ พิมพ์ลายผ้า ติดต่อ โรงงานพิมพ์ผ้าหลา, รับพิมพ์ผ้า ได้ที่
Facebook : changanandigitalprint
Line : @changanan
Phone : 083-425-3222